กองสวัสดิการสังคม
ข้อมูลทั่วไป
กองสวัสดิการสังคม เป็นส่วนราชการระดับกอง มีผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชนหนาแน่นและชุมชนแออัด การจัดให้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น และงานสาธารณะ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยส่วนราชการภายใน ดังนี้
- ฝ่ายพัฒนาชุมชน
งานพัฒนาชุมชน
วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญของงานพัฒนาชุมชน
งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน ตลอดจนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสรุปวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
- เพื่อให้ระบบการให้บริการและการพัฒนาของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ชุมชนและผู้มาขอรับบริการได้
- เพื่อให้กระบวนการให้บริการและการพัฒนาสามารถตรวจสอบได้
- เพื่อให้มีการวางแผน การดำเนินงานที่เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐาน แผน กฎระเบียบ ที่ทางราชการกำหนดและเหมาะสมกับภารกิจ
- เพื่อให้มีระบบสารสนเทศ และสามารถใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการ
- เพื่อให้การวางแผนและกำหนดวงเงินงบประมาณประจำปี และการทำแผนงบประมาณ ล่วงหน้า ให้สอดคล้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์และแผนงานของหน่วยงาน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
- เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัด สามารถบรรลุเป้าหมาย
- เพื่อให้การปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐาน แผนและกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด
- เพื่อให้การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของงานสวัสดิการเด็กและเยาวชนในด้านการส่งเสริมการจัดกิจกรรมของหน่วยงาน ให้มีความชัดเจน
- เพื่อให้รูปแบบโครงสร้างของหน่วยงานเหมาะสมกับภารกิจ
- เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐาน แผนและกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด
- เพื่อให้ระบบการรายงาน และติดตามประเมินผลดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- งานธุรการ
วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญของงานธุรการ- เพื่อให้การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงานมีความชัดเจน รวมทั้งมีการวางแผนดำเนินงานที่เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- เพื่อให้การจัดโครงสร้างภายในหน่วยงานเหมาะสมกับภารกิจ
- เพื่อให้การปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐาน แผนและกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด
- เพื่อให้ระบบสื่อสารในหน่วยงานมีความเหมาะสม
- เพื่อให้ระบบสารสนเทศ สามารถใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดซื้อ จัดจ้าง
- เพื่อให้ระบบการรายงาน และติดตามประเมินผล ดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้การวางแผนและกำหนดเงินงบประมาณประจำปี และการทำแผนงบประมาณล่วงหน้าสอดคล้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ และแผนงานของหน่วยงาน ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
- เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด สามารถบรรลุเป้าหมาย
- เพื่อให้มีข้อมูลสารสนเทศ ด้านงบประมาณที่เพียงพอ และถูกต้องสำหรับการบริหารงบประมาณของหน่วยงาน