ความสุขที่ไม่ต้องซื้อหา

      

ความสุขที่ไม่ต้องซื้อหา สามารถพบได้จากภายในกายใจเรานี้เอง
ความสุขจากความสงบง่ายๆ โดยอาศัยการหายใจเข้า หายใจออก
คือ.....อานาปานสตินี่เอง...


      

อานาปานสติ....คือ 'การมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออก'... มีสติกำกับ
รักษาจิต อย่าให้เผลอในขณะที่ทำ ทำใจให้รู้อยู่กับลมเข้า ลมออกเท่า
นั้น ไม่คาดหมายผลที่จะพึงได้รับมีความสงบ เป็นต้น...

ทำความรู้สึกอยู่กับลมเข้า ลมออกธรรมดา อย่าเกร็งตัวเกร็งใจจน
เกินไป จะเป็นการกระเทือนสุขภาพทางกายให้รู้สึกเจ็บนั่นปวดนี่โดย
หาสาเหตุไม่เจอ ซึ่งความจริงสาเหตุก็คือ...การเกร็งตัวเกร็งใจจนเกิน
ไปนั่นเอง....

การมีสติรับรู้อยู่ธรรมดา.....'ใจเมื่อได้รับการรักษาด้วยสติ จะค่อยๆ
สงบลง ลมก็ค่อยๆละเอียดไปตามใจที่สงบตัวลง'
...ยิ่งกว่านั้นใจก็สงบ
จริงๆ ลมหายใจขณะที่จิตละเอียดจะปรากฏว่า...ละเอียดอ่อนที่สุด จน
บางครั้งปรากฏว่า ลมหายไป คือ...ลมที่ไม่มีในความรู้สึกเลย ตอนนี้จะ
ทำให้นักภาวนาตกใจ กลัวจะตายเพราะลมหายใจไม่มี....

เพื่อแก้ความกลัวนั้น ควรทำความรู้สึกว่า...แม้ลมจะหายไปก็ตาม..เมื่อ
จิตคือผู้รู้ยังครองร่างอยู่ ถึงอย่างไรจะไม่ตายแน่นอน ไม่ต้องกลัว....
อันเป็นเหตุเขย่าใจตัวเองให้ถอนขึ้น จากความละเอียดมาเป็น จิตธรรมดา
ลมหายใจธรรมดา ซึ่งทำให้เกิดความเสียใจในภายหลัง...

ถ้ากำหนดเฉพาะลมหายใจเป็นอารมณ์อย่างเดียวไม่สนิทใจ จะตามด้วย
การบริกรรม...พุทโธ...ก็ได้ ไม่ผิด ผู้ชอบบริกรรมเฉพาะธรรมบทใดบทหนึ่ง
เช่น พุทโธ ก็ได้ตามอัธยาศัยชอบ ไม่ขัดแย้งกัน...สำคัญที่ให้เหมาะกับจริต

และ ขณะภาวนา...ขอให้มีสติรักษา อย่าปล่อยให้ใจส่งไปตามอารมณ์ต่างๆ
ก็เป็นการถูกต้อง....ในการภาวนา
คำว่า...'จิตใจ มโน'....หรือ ผู้รู้เป็นอันเดียวกัน....คือเป็นไวพจน์ของกันและ
กัน....ใช้แทนกันได้ เช่น กิน-รับประทาน เป็นต้น...เป็นความหมายอันเดียวกัน
ใช้แทนกันได้ ตามปกติใจเป็นสิ่งละเอียดมาก ยากจะจับตัวจริงได้....

ใจ...เป็นประเภทหนึ่ง ต่างหากจากร่างกายทุกส่วน แม้อาศัยกันอยู่ก็มิได้เป็น
อันเดียวกัน ร่างกายที่ตั้งอยู่ได้ย่อมขึ้นอยู่กับใจเป็นผู้รับผิดชอบ......
ถ้าใจออกจากร่างไปเมื่อใด ร่างกายก็หมดความหมายลงทันที โลกเรียกว่า
...'ตาย'...แต่ความรู้คือใจนี้ ต้องไม่ตายไปด้วยร่างกายที่สลายตัวไป...

เมื่ออยากทราบความจริงจากใจ จำต้องมีเครื่องมือพิสูจน์...เครื่องมือพิสูจน์
ได้แก่...'ธรรม' เท่านั้น นอกนั้นไม่มีสิ่งใดจะสามารถพิสูจน์ได้...
'การภาวนา'...เป็นเครื่องพิสูจน์โดยตรง ผู้มีสติดี...มีความเพียรมาก มีทางพิสูจน์
ของใจ ให้เห็นชัดเจนได้เร็วยิ่งขึ้นผิดธรรมดา...

คำว่า...'เครื่องมือธรรม' นั้นโปรดทราบว่า ส่วนใหญ่คือ....'สติปัฏฐาน 4' และ
'สัจธรรม 4' เป็นต้น...ส่วนย่อยแต่จำเป็นทั้งในขั้นเริ่มแรกและขั้นต่อไป ได้แก่
อานาปานสติ หรือ พุทโธ...เป็นต้น เป็นบทๆไป ที่ผู้ภาวนานำมากำกับใจแต่ละ
บทแต่ละบาท เรียกว่า...'เครื่องมือพิสูจน์ใจ' ทั้งสิ้น.....

เมื่อใจพร้อมกับเครื่องมือ คือ ธรรมบทต่างๆได้รวมกันเป็นคำภาวนา มีสติเป็น
ผู้ควบคุม ให้ระลึกรู้อยู่กับลมหายใจ หรือธรรมบทใดก็ตามโดยสม่ำเสมอ...ไม่ให้
จิตเผลอออกไปสู่อารมณ์ภายนอก....

ไม่นาน...กระแสของใจที่เคยสร้างอยู่กับอารมณ์ต่างๆ จะค่อยๆรวมตัวเข้ามาสู่
จุดเดียว คือ...ที่กำลังทำงาน โดยเฉพาะได้แก่ คำภาวนา.....ความรู้จะค่อยๆ เด่น
ขึ้นในจุดนั้น และแสดงผลเป็น..'ความสงบสุข' ขึ้นมา ให้รู้เห็นได้อย่างชัดเจน...ฯ



~พระธรรมวิสุทธมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)~
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี




ผู้ป้อนข้อมูล [ผู้ดูแลระบบ] วันที่ 19 เม.ย. 2553

ปิดหน้านี้